เมืองเขลางค์ : สมัยหริภุญชัย
เมืองเขลางค์ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๒๒๓ มีรูปร่างเป็น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กำแพงเมืองชั้นล่างเป็นคันดิน ๓ ชั้น ชั้นบนเป็นอิฐ สันนิษฐานว่า สร้างต่อเติมขึ้น ภายหลัง มีความยาววัดโดยรอบ ๔,๔๐๐ เมตร เนื้อที่ประมาณ ๖๐๐ ไร่ มี ประตูเมืองที่สำคัญ ได้แก่ ประตูม้า แระตูผาบ่อง ประตูท่านาง ประตูต้นผึ้ง ประตูป่อง ประตูนกกด และประตูตาล ปูชนียสถานที่สำคัญได้แก่ วัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งครั้งหนึ่งเคย เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธ มหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๓๒ - ๒๐๑๑ นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง ได้แก่ วัดอุโมงค์ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่ บริเวณประตูตาล ส่วนวัดที่อยู่นอกกำแพงเมืองได้แก่วัดป่าพร้าว วัดพันเชิง วัดกู่ขาว หรือ เสตกุฎาราม ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระสิกชีปฏิมากร วัดกู่แดง วัดกู่คำ ระหว่างวัด กู่ขาวมายังเมืองเขลางค์ก็มีแนวถนนโบราณทอดเข้าสู่ตัวเมืองสันนิษฐานว่า สร้างในสมัยที่พระนางจามเทวีเสด็จมาประทับที่เมืองเขลางค์ใช้เชื่อมเมืองเขลางค์กับเขตพระราชสถาน ที่เรียกว่า อาลัมพางค์นคร และใช้เป็นเขื่อนกั้นน้ำเพื่อทดน้ำเข้าสู่ตัวเมือง
เมืองเขลางค์ : สมัยลานนาไทย
ใน พ.ศ. ๑๘๒๔ พระเจ้ามังรายได้แผ่ขยายอำนาจเข้าครอบครองหริภุญชัย พระยาญีบา เจ้าเมืองสู้ไม่ได้ จึงอพยพหนีมาพึ่งพระยาเบิกโอรสยังเมืองเขลางค์นคร ต่อมา ใน พ.ศ. ๑๘๓๘ พระยาเบิก ได้ยกกองทัพไปตีเมืองหริภุญชัยคืน แต่พ่ายแพ้กลับมา ขุนคราม โอรสของพระเจ้ามังรายยก กองทัพติดตามมาทันปะทะกันที่ตำบลแม่ตาน ปรากฏว่าพระยาเบิกเสียชีวิตในการสู้รบ ส่วนพระยา ญีบาเมื่อทราบข่าว จึงพาครอบครัวหนีไปพึ่งพระยาพิษณุโลก เจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ประทับ อยู่ที่นั่นจนสิ้น พระชนม์ จึงนับว่าเป็นการสิ้นวงศ์เจ้าผู้ครองเมืองเขลางค์รุ่นแรก
เมื่อขุนครามตีเมืองเขลางค์ได้แล้วจึงแต่งตั้งให้ขุนไชยเสนาเป็นผู้รั้งเมืองสืบ ต่อมา ขุนไชยเสนาได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๔๕ เป็นเมืองเขลางค์รุ่นสอง
เมืองเขลางค์ที่สร้างขึ้นในสมัยลานนาไทย มีเนื้อที่ประมาณ ๑๘๐ ไร่ อยู่ถัด จากเมือง เขลางค์เดิมลงไปทางทิศใต้ กำแพงเมืองก่อด้วยอิฐ วัดความยาวโดยรอบได้ ๑,๑๐๐ เมตร มีประตูเมือง ที่สำคัญได้แก่ ประตูเชียงใหม่ ประตูนาสร้อย ประตูปลายนา โบราณสถานที่สำคัญได้แก่ วัดปลายนา ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้าง และวัดเชียงภูมิ ปัจจุบันคือ วัดปงสนุก
ในระยะต่อมาได้รวมเมืองเขลางค์ทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน ดังปรากฏหลักฐานทางสถาปัตยกรรมลานนาไทยก่อนรับอิทธิพลของพม่า เช่นที่วัดพระแก้วดอนเต้า
เมืองเขลางค์ : เมืองนครลำปาง
เมืองเขลางค์ระยะนี้มีชื่อเรียกว่าเมืองนครลำปาง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดและตลาดเมืองลำปาง มีพื้นที่ประมาณ ๓๕๐ ไร่ กำแพงก่อด้วยอิฐยาว ๑,๙๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๑ ในสมัยเจ้าหอคำดวงทิพย์ (ปัจจุบันอยู่ในแนวถนนรอบเวียง) โบราณสถานที่สำคัญได้แก่ หออะม๊อก (หอปืนใหญ่โบราณ) วัดกลางเวียงหรือ วัดบุญวาทย์วิหาร วัดน้ำล้อม วัดป่าดั๊วะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น